Trending Now
DON'T MISS
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภทเฉพาะภัย 2+3+ หากเกิดเหตุโดยไม่ทราบคู่กรณี เคลมได้หรือไม่
ปัญหากรมธรรม์ประกันภัยแบบเฉพาะภัย 2+ 3+ ที่เกิดข้อพิพาทระหว่างลูกค้า กับ บ.ประกันภัย ขึ้นสู่การวินิจฉัยของศาลฎีกา
คำพิพากษาฎีกาที่ 5238/2561
...ตามกรมธรรม์ประกันภัยแบบคุ้มครองเฉพาะภัยระบุว่า บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างระยะเวลาประกันภัยต่อรถยนต์... และผู้เอาประกันภัยสามารถแจ้งให้บริษัททราบถึงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้
...อันเป็นเงื่อนไขหรือข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ในฐานะนายทะเบียนมีคำสั่งนายทะเบียนที่ 4/2551 ออกตามความในมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัยพ.ศ 2535 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลใช้บังคับได้
...กำหนดว่าการแจ้งให้บริษัททราบถึงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้ ให้หมายความรวมถึงผู้เอาประกันภัยต้องสามารถแจ้งหมายเลขทะเบียนรถยนต์ของคู่กรณี ให้บริษัททราบ โดยไม่จำเป็นต้องให้รายละเอียดถึงผู้ขับขี่รถยนต์คู่กรณี
...เมื่อโจทก์ผู้เอาประกันภัยไม่ทราบหมายเลขทะเบียน รถจักรยานยนต์ที่จอดระบุว่าขับมาเฉี่ยวชนรถยนต์ของโจทก์ที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลย จนได้รับความเสียหาย
...ย่อมถือไม่ได้ว่าโจทก์สามารถแจ้งให้จำเลยทราบถึงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้ เป็นกรณีเข้าข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยแบบคุ้มครองเฉพาะภัย...
การล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงานผิดกฎหมายแรงงานหรือไม่
การล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงานผิดกฎหมายแรงงานหรือไม่
มาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ ที่ ห้ามมิให้นายจ้าง ,หัวหน้างาน , ผู้ควบคุมงานหรือผู้ตรวจงาน กระทำการล่วงเกิน ทางเพศต่อลูกจ้าง นั้น แม้จะยังมิได้ถูกเนื้อต้องตัว ก็ถือว่าเป็นการล่วงเกินทางเพศได้ หรือแม้ตัวลูกจ้างจะยินยอม นายจ้างก็มีความผิดตามมาตรานี้ แต่การที่ลูกจ้าง ยอมมีความสัมพันธ์ทางเพศเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินที่นายจ้างสั่งจ่ายเช็คช่วยชำระหนี้ให้ โดยนายจ้างมิได้บีบบังคับ จะถือว่าเป็นการล่วงเกินทางเพศ ตามความที่บัญญัติไว้ในมาตรา 16 ไม่ได้
คำพิพากษาฎีกาที่...
GADGET WORLD
TRAVEL GUIDES
เบี้ยวค่านายหน้า ผิดฐานฉ้อโกงหรือไม่?
คำถาม
นายหน้าจัดการขายที่ดินให้เจ้าของที่ดินเสร็จเรียบร้อย มีสิทธิได้ค่านายหน้า แต่เจ้าของที่ดินไม่ให้ จะเป็นความผิดฐานฉ้อโกงหรือไม่ ?
คำตอบ
มีแนวคำพิพากษาฎีกา ดังนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1279/2517
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จัดการขายที่ดินให้จำเลยที่๑ โจทก์มีสิทธิได้รับค่านายหน้าจากจำเลยที่๑ โดยตกลงให้ค่านายหน้าแก่โจทก์ร้อยละ 10 แต่จำเลยที่๑ และจำเลยที่๒ ร่วมกันทุจริตแจ้งความเท็จและปกปิดความจริงต่อโจทก์ โดยบอกว่ายังไม่ได้ขายที่ดินให้ใคร ซึ่งความจริงได้ขายให้ บ.และก.ไปแล้ว การแจ้งเท็จและปกปิดความจริง ทำให้จำเลยทั้งสองได้ไปซึ่งค่านายหน้าอันเป็นสิทธิของโจทก์ไป
ดังนี้ หากจะฟังว่าจำเลยหลอกลวงโจทก์ตามฟ้องจริง การหลอกลวงเช่นนั้นก็มิได้ทำให้จำเลยได้เงินไปจากโจทก์ แต่อย่างใด เงินที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้ไปนั้นเป็นเพียงเงินค่านายหน้าซึ่งโจทก์ถือว่าตนมีสิทธิจะได้ และจำเลยไม่ชำระให้เท่านั้น...
ผู้กู้นำโฉนดที่ดินมอบให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ ผู้ให้กู้จะมีสิทธิยึดโฉนดที่ดินหรือไม่ และหากผู้ให้กู้คืนโฉนดที่ดินแก่ผู้กู้ไป จะเป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดหรือไม่ ?
ผู้กู้นำโฉนดที่ดินมอบให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ ผู้ให้กู้จะมีสิทธิยึดโฉนดที่ดินหรือไม่ ? และหากผู้ให้กู้คืนโฉนดที่ดินแก่ผู้กู้ไปจะเป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดหรือไม่ ?
มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้ครับ
1.คำพิพากษาฎีกาที่ 1894/2546
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องว่า ผู้ร้องมีสิทธิ์ยึดหน่วงโฉนดที่ดินฉบับพิพาทหรือไม่ เห็นว่า ผู้ร้องเป็นผู้ครอบครองโฉนดที่ดินก็โดยจำเลยผู้เป็นลูกหนี้เงินกู้ มอบให้ยึดถือเป็นประกันเงินกู้ตามหนังสือสัญญากู้เงินเอกสารท้ายคำฟ้อง
ผู้ร้องจึงมีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินไว้เป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ คืนโดยอาศัยข้อตกลงในหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวนั้นเอง
แต่สิทธิยึดถือโฉนดที่ดินดังกล่าวเป็นเพียงบุคคลสิทธิ บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา ไม่สามารถใช้ยันบุคคลอื่นได้
ส่วนสิทธิยึดหน่วงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 241 หมายถึง การที่ผู้ครอบครองได้ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นและมีหนี้อันเป็นคุณแก่ผู้ครอบครองเกี่ยวด้วยทรัพย์สินที่ครอบครองนั้น หนี้ที่ผู้ร้องมีเป็นเพียง หนี้เงินกู้ที่ผู้ร้องจะได้รับชำระหนี้คืนเท่านั้น หาได้เป็นคนแก่ผู้ร้องเกี่ยวด้วยที่โฉนดที่ดินดังกล่าวไม่
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการบังคับคดีแก่ที่ดินดังกล่าวผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงโฉนดที่ดินฉบับพิพาท
2. คำพิพากษาฎีกาที่ 2718/2515
ในประเด็นที่ว่าการที่โจทก์ได้คืนโฉนด ที่ดินให้กับจำเลยที่ 1...
LATEST REVIEWS
ผู้กู้นำโฉนดที่ดินมอบให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ ผู้ให้กู้จะมีสิทธิยึดโฉนดที่ดินหรือไม่ และหากผู้ให้กู้คืนโฉนดที่ดินแก่ผู้กู้ไป จะเป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดหรือไม่ ?
ผู้กู้นำโฉนดที่ดินมอบให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ ผู้ให้กู้จะมีสิทธิยึดโฉนดที่ดินหรือไม่ ? และหากผู้ให้กู้คืนโฉนดที่ดินแก่ผู้กู้ไปจะเป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดหรือไม่ ?
มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้ครับ
1.คำพิพากษาฎีกาที่ 1894/2546
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องว่า ผู้ร้องมีสิทธิ์ยึดหน่วงโฉนดที่ดินฉบับพิพาทหรือไม่ เห็นว่า ผู้ร้องเป็นผู้ครอบครองโฉนดที่ดินก็โดยจำเลยผู้เป็นลูกหนี้เงินกู้ มอบให้ยึดถือเป็นประกันเงินกู้ตามหนังสือสัญญากู้เงินเอกสารท้ายคำฟ้อง
ผู้ร้องจึงมีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินไว้เป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ คืนโดยอาศัยข้อตกลงในหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวนั้นเอง
แต่สิทธิยึดถือโฉนดที่ดินดังกล่าวเป็นเพียงบุคคลสิทธิ บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา ไม่สามารถใช้ยันบุคคลอื่นได้
ส่วนสิทธิยึดหน่วงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 241 หมายถึง การที่ผู้ครอบครองได้ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นและมีหนี้อันเป็นคุณแก่ผู้ครอบครองเกี่ยวด้วยทรัพย์สินที่ครอบครองนั้น หนี้ที่ผู้ร้องมีเป็นเพียง หนี้เงินกู้ที่ผู้ร้องจะได้รับชำระหนี้คืนเท่านั้น หาได้เป็นคนแก่ผู้ร้องเกี่ยวด้วยที่โฉนดที่ดินดังกล่าวไม่
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการบังคับคดีแก่ที่ดินดังกล่าวผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงโฉนดที่ดินฉบับพิพาท
2. คำพิพากษาฎีกาที่ 2718/2515
ในประเด็นที่ว่าการที่โจทก์ได้คืนโฉนด ที่ดินให้กับจำเลยที่ 1...
FASHION AND TRENDS
การจอดรถบนถนนกับจอดรถข้างถนนแล้วมีรถอื่นมาชนมีคนตายเป็นความผิดหรือไม่
การจอดรถบนถนนกับจอดรถข้างถนนแล้วมีรถอื่นมาชนมีคนตายเป็นความผิดหรือไม่
หลักเกณฑ์ของการกระทำโดยประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสี่ บัญญัติว่า กระทำโดยประมาทได้แก่กระทำความผิด มิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
มาดูตัวอย่างตามปัญหาข้างต้น
1.กรณีที่ถือว่าเป็นการกระทําโดยประมาท
กรณีการจอดรถบนถนน
คำพิพากษาฎีกาที่ 2884/2555
...การที่จำเลยจอดรถโดยส่วนของรถล้ำเข้าไปในช่องเดินรถด้านซ้ายเกือบครึ่งคันรถ ควรที่จำเลยจะต้องปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด กล่าวคือต้องแสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณเพื่อให้รถที่แล่นผ่านบริเวณนั้นได้เห็นชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ
... การที่ผู้ตายขับรถมาตามทางแล้วเฉี่ยวชนท้ายรถคันที่จำเลยขับ โดยท้ายรถของผู้ตายชนกับท้ายรถคันที่จำเลยขับ แสดงให้เห็นว่าผู้ตายได้ห้ามล้อรถอย่างกะทันหัน ทำให้รถหมุน ย่อมบ่งแสดงว่าผู้ตายเห็นรถคันที่จำเลยขับมาจอดไว้ในระยะกระชั้นชิด หรือมิฉะนั้นอาจเกิดจากผู้ตายขับรถทับยางรถยนต์ที่จำเลยวางไว้ จึงตกใจห้ามล้ออย่างกะทันหัน
... เนื่องจากสียางรถยนต์กับสีพื้นถนนกลมกลืนกัน ทำให้ผู้ตายมองไม่เห็นเมื่อรถทับยางจึงตกใจแล้วจึงห้ามล้อ
......
คดีอาญาจำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ศาลจะต้องลดโทษให้กึ่งหนึ่งเสมอไปหรือไม่
คดีอาญาจำเลยให้การรับสารภาพแล้ว
ศาลจะต้องลดโทษให้กึ่งหนึ่งเสมอไปหรือไม่
ป.อ.มาตรา 78 นั้นถือเป็นบทบัญญัติที่ให้ศาลใช้ดุลพินิจ หาใช่บทบังคับ ที่ศาลจะต้องลดโทษให้แก่ผู้กระทำความผิดเพราะมีเหตุบรรเทาโทษเสมอไปไม่
คำพิพากษาฎีกาที่ 10319/2558
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 เป็นบทบัญญัติในการใช้ดุลพินิจของศาลในการลงโทษให้เหมาะสม แก่พฤติการณ์ของผู้กระทำความผิดเป็นรายบุคคลไป
หาใช่บทบังคับที่พึงจะต้องลดโทษให้แก่ผู้กระทำความผิด เพราะมีเหตุบรรเทาโทษเสมอไปไม่
การที่จำเลยที่ 1 กับพวกนำยาแลนเนต (ยาฆ่าแมลง)ใส่ในผลมะละกอให้ช้างกินเพื่อให้ช้างได้รับสารพิษ ในขณะที่ช้างยังไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันใช้เลื่อยเหล็กตัดงาของช้าง
จึงเป็นความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335 (1) (11) วรรคสองประกอบมาตรา 336...